วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

5 อันดับเครื่องมือตัดต่อวิดีโอสุดเทพ


โครงงานคอมพิวเตอร์

กลุ่มที่ 7
1. นางสาว ธิราภรณ์   ธีระวัฒน์       เลขที่   20
2. นางสาว ปรายฟ้า    เพชรชนะ     เลขที่   25
3. นางสาว ชลลดา      เอี่ยมนนท์     เลขที่   29
          ชั้น มัธยมศึกษาปีที่  5/13

วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาโปรแกรมการตัดต่อวิดีโอจากคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน
2. ศึกษาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ต่างๆ และYoutube
3. เลือกโปรแกรมการตัดต่อวิดีโอที่ถูกใจและเลือกมาใช้ในการตัดต่อวิดีโอเพื่อทำสารคดี
4. ศึกษาโปรแกรมการตัดต่อวิดีโอที่เลือกให้ลึกซึ้ง ชัดเจน  และเข้าใจมากที่สุดจากการอ่านในเว็บไซต์ต่างๆ และดูตัวอย่างวิธีการตัดต่อวิดีโอจาก Youtube

ผลการดำเนินการ
จากการศึกษาโปรแกรมการตัดต่อวิดีโอจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จึงตัดสินใจเลือกโปรแกรม Adobe Premiere Pro หรือ Ulead Video Studio11 ในการตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้ในการทำสารคดี

แหล่งเรียนรู้
1. คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
2. www.google.co.th
3. www.youtube.com

หลักฐานประกอบ
ศึกษาโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ

โปรแกรม Adobe Premiere Pro




โปรแกรม Ulead Video Studio11


ความหมายและจุดมุ่งหมายของการเขียนสารคดี

                “สารคดี หมายถึง งานเขียนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่มีตัวตนจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีเจตนาเบื้องต้นในการให้สาระ ความรู้ ความคิด ทั้งนี้ ต้องมีกลวิธีการเขียนให้เกิดความเพลิดเพลินด้วย สารคดีโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายดังนี้
                1.  เพื่อให้ความรู้  อาจจะเป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชา เช่น  วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือภาษาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับการเจียระไนพลอย ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น
                2.  เพื่อให้ข้อเท็จจริง  ซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนค้นคว้า รวบรวมมา ประสบด้วยตนเอง หรือได้รับการบอกเล่าโดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเรียบเรียง หรือเล่าในรูปสารคดี เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีเกี่ยวกับสัตว์ป่า สารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
                3.  เพื่อแสดงความเห็น หรือแนวคิด เป็นการให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านมีความคิดที่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น  สารคดีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน สารคดีเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของสังคม สารคดีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติ เป็นต้น
                4.  เพื่อให้ความเพลิดเพลิน  เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด สารคดีบางเรื่องจึงเขียนให้เป็นสารคดีที่ไม่มีสาระวิชาการมากเกินไป ทั้งนี้เพื่อมุ่งสนองความต้องการของผู้อ่าน ให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับเรื่อง ขณะเดียวกันก็ได้สาระความรู้ ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นด้วย เช่น สารคดีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้เขียนจะนำชมสถานที่แปลกๆ ใหม่ๆ สวยๆ งามๆ โดยมีการพรรณนาความงามของธรรมชาติ ด้วยถ้อยคำที่สละสลวย


ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm

ขั้นตอนการทำรายการสารคดี

                   1. ตัดสินใจเกี่ยวกับหัวเรื่อง เช่นการบรรยายและเรื่องแทรกต้องติดต่อกันหรือไม่ สิ่งที่เพิ่มเติมในรายการ ส่วนประกอบที่ต้องใช้ ได้แก่ ผู้เขียนแบบบันทึกเสียง ผู้แปล การประกอบเสียง รูปแบบ การทำข่าว
                   2. ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ และเรื่องแทรกอื่นๆ ข้อเท็จจริง ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ให้สัมภาษณ์ สถานที่
                   3. พิจารณาผู้ช่วยเหลือ ที่จะช่วยเก็บข้อมูล หรือร่วมในรายการ
                   4. บันทึกเรื่องประกอบ ทำเมื่อความคิดเกี่ยวกับโครงเรื่อง การติดต่อแน่นอนแล้ว ควรระวังเรื่องคุณภาพทางเทคนิคด้วย
                   5. การตัดต่อเทปครั้งแรก ควรตัดส่วนที่ไม่แน่ใจว่าไม่ใช้ออก ตัดต่อให้มีลักษณะต่อเนื่องและอาจไม่ต้องเอาใจใส่ในเรื่องความผิดพลาดมากนัก แต่ต้อวอลงฟังดูหลายๆครั้งจนกระทั่งรู้สึกว่าแต่ละส่วนต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม และเกิดความคิดเกี่ยวกับคำบรรยาย นอกจากนั้นควรเตรียมพร้อมที่จะบันทึกเพื่อเติมในส่วนที่ขาดหายไป แล้วบันทึกส่วนย่อยที่จัดลำดับไว้เป็นที่น่าพอใจแล้วลงในเทป และเว้นที่ว่างของส่วนหัวเทปและปลายเทปให้มาก
                   6. เตรียมเขียนบทที่ใช้ผลิตรายการ หลังจากตัดสินแน่ใจในส่วนประกอบต่างๆแล้ว ก็สามารถเขียนบทบรรยายจริงได้ การบันทึกสัญญาณเตือน ช่วงเวลา การเปลี่ยนความดังของเสียงเพลง และเสียงประกอบทั้งหลาย ต้องถูกต้องตามกำหนดเวลาและทำเครื่องหมายให้ชัดเจน นอกจากนั้นเริ่มรายการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรเน้นสิ่งที่น่าสนใจ พยายามชี้ให้เห็นถึงส่วนหนึ่งน่าสนใจตลอดเวลา ซึ่งต้องระมัดระวังมากในการเขียนบท
                   7. การบันทึกรวม เป็นการบันทึกส่วนต่างๆทั้งหมดทีเดียว ป้องกันตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้รายการต่อเนื่อง มีความหลากหลาย น่าสนใจติดตามชมและฟัง เมื่อเสร็จควรตรวจสอบความกระชับของรายการและความต่อเนื่อง ซึ่งอาจปรับปรุงด้วยการตัดต่ออีกครั้ง

ที่มา : http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage3/doc3_5.html

หลักการเขียนสารคดี

         การเขียนสารคดีมีหลักในการเขียน  ดังนี้
                   1.   การเลือกเรื่อง   เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ  หรือทันสมัย  หากเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต  ก็ควรนำเสนอให้น่าสนใจด้วยมุมมองที่แปลกใหม่  มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็นความรู้  ความคิดจากเรื่องจริง  เหตุการณ์จริง  และจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน  มีอรรถรส
                  2.   การตั้งชื่อเรื่อง  ควรตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  สะดุดหู  สะดุดตา  ควรเป็นชื่อที่เข้ายุคเข้าสมัยในปัจจุบัน  ควรหาคำที่มีความหมายกว้าง ๆ  เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา  แต่ชื่อเรื่องต้องตรงกับเนื้อหาด้วย  แนวทางการตั้งชื่อเรื่อง
                          -  แบบชี้นำเนื้อหา  โดยการนำความสำคัญของเนื้อหามาสรุปเป็นความคิดรวบยอดเช่น  ครูไทย...ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จสิ้นยาบ้ามหาภัย
                          -  แบบสำบัดสำนวน  นำสำนวนแปลก ๆมาใช้ เช่น  แสนแสบแสบสยิว  สยึ๋มกึ๋ย                         
                          -  แบบคนคุ้นเคย  เหมือนผู้เขียนคุ้นเคยกับผู้อ่าน  เช่น  มาช่วยกันป้องกันเหตุร้ายกันเถอะ  การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรร                         
                          -  แบบคำถาม  เช่น  จริงหรือที่เขาว่าหัวหินสิ้นมนต์ขลัง                       
                          -  แบบชวนฉงน  เช่น  ตายแล้วฟื้น,   ตายแล้วไป....                     
                   3.  กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวคิดสำคัญ    การกำหนดจุดมุ่งหมายอาจตั้งคำถามว่าต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการให้ผู้อ่านคิด/ ทำอย่างไร  ผู้เขียนต้องกำหนดแนวคิดให้ชัดเจนว่า  สารคดีเรื่องนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดสำคัญอะไร  มีแก่นเรื่องอะไรนำเสนอแก่ผู้อ่าน  เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาถ่ายทอดถ้อยคำหรือประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น
                  4.  การหาข้อมูล  แหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการเขียนสารคดี  ได้แก่  หนังสือ  สารานุกรม  นิตยสาร  วารสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์  การสนทนา  และการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นต้น
                   5.  การวางโครงเรื่อง  ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องก่อนเขียน  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน  ว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็น  ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง  ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ  มีตัวอย่าง  มีเหตุผล  เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง  การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้โดยง่าย  ไม่สับสน  วกวน  นอกเรื่อง  ทำให้เรื่องมีเอกภาพ  มีลำดับต่อเนื่องกัน  และได้เนื้อความครบถ้วน
                  6.  การลงมือเขียน  สารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับความเรียงทั่วไป  คือ
                          -  ความนำ / การเปิดเรื่อง                                   
                          -  เนื้อเรื่อง / การดำเนินเรื่อง                         
                          -  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง
                          6.1   ความนำ / การเปิดเรื่อง  เป็นการเปิดเรื่องบอกกล่าวให้ผู้อ่านรู้ก่อนว่าจะเขียนอะไร  เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ  การขึ้นความนำอาจทำได้หลายประการ  เช่น
แบบสรุปเนื้อหาให้ผู้อ่านรู้ว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  ทำไม 
ขึ้นต้นจากชื่อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก
เรื่องในสังคมที่คนกำลังสนใจ                                    
คำพูดของบุคคลสำคัญ
เล่าเรื่องลักษณะคล้ายนิทานแล้วโยงเข้าหาเนื้อเรื่อง
เหตูการณ์สำคัญในเรื่อง                                
ยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวี  นิพนธ์  คำคม
ใช้ประโยคสำคัญ  ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมากล่าว
ใช้คำถาม                                                     
ยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ
พรรณนา                                                      
ย้อนอดีต  โยงเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน
                          6.2   เนื้อเรื่อง  / การดำเนินเรื่อง   กลวิธีการดำเนินเรื่องของสารคดีอาจเป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เขียน  หรือมีการแทรกบทสนทนา  หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนในเนื้อเรื่องด้วย  เนื้อเรื่องต้องมีส่วนที่เป็นใจความหลัก และส่วนขยายความให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น  เช่น  การเสนอข้อมูลแสดงสถิติ  แสดงการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างประกอบ  แต่อย่าให้มากเกินไป
                       6.3  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง  เป็นส่วนทำให้ผู้อ่านประทับใจ  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน  โดยการสรุปข้อมูล  ข้อคิด แสดงข้อคิดเห็น  คำแนะนำ  วิธีแก้ปัญหาของผู้เขียน  อย่างสร้างสรรค์  โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ  สรุปให้เกิดความตระหนัก
                 7.  การใช้ภาษา  ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  หากเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาถิ่นควรอธิบายความหมายไว้ด้วย  นอกจากนี้ควรใช้โวหาร  สำนวน  ภาพพจน์  ตลอดจนระดับภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  จะเขียนแบบพรรณนา  บรรยาย  อธิบาย  หรือ โน้มน้าว ก็ได้      
                 8.  ความยาวของสารคดี  ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป  เพราะสารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที
                  9.  การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  แต่ละคนมีลักษณะและลีลาการเขียนที่แตกต่างกัน  จะเลือกแบบใดก็ได้  แต่อย่าลืมว่าผู้เขียนได้ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีมาก่อน  แล้วจึงเลือกหาแนวถนัดของตนเองโดยไม่เลียนแบบผู้อื่น

                  10.  ทบทวนและปรับปรุง  เมื่อจบเรื่องควรทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่  จากนั้นอ่านตรวจทานอีกครั้ง  หรือถ้าได้เก็บเรื่องที่เขียนไว้สัก  ๒ ๓  วัน แล้วนำกลับมาอ่านตรวจอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะยิ่งดี  

ที่มา : http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry   

ลักษณะของสารคดี

               1.  เนื้อเรื่องมีสาระประโยชน์ เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความคิด
               2.  เนื้อเรื่องไม่จำกัดว่าจะเป็นเรื่องใด ถ้าเห็นว่าเนื้อหานั้นมีสาระบันเทิงก็สามารถนำมาเขียนได้
               3.  การใช้สำนวนภาษาสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน และผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน
               4.  สารคดีเป็นเรื่องราวที่ไม่ค่อยล้าสมัย ไม่มีการจำกัดกาลเวลาเหมือนข่าว

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm

องค์ประกอบของสารคดี

                1.  คำนำ  คือ การเริ่มต้นเรื่องโดยการเกริ่นให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องที่จะเขียนนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นการเสนอทรรศนะอย่างกว้างๆ ไว้ก่อน ไม่ต้องอธิบายอย่างละเอียด และไม่ต้องเขียนยาวมากนัก มีเพียงย่อหน้าเดียว ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้ได้ทราบข้อมูล เรื่องที่น่ารู้และน่าสนใจ
                2.  เนื้อเรื่อง  คือ การขยายเนื้อความให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูล รายละเอียด โดยอาจแทรกสถิติ ตัวอย่างประกอบ เพื่อความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเขียนเนื้อเรื่องอาจมีหลายย่อหน้า
                3.  สรุป  คือ การเขียนข้อความในตอนท้ายของเรื่อง ผู้เขียนต้องใช้ศิลปะในการสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน อาจใช้กลวิธีอย่างเช่น สรุปโดยการใช้สำนวน คำพังเพย หรือ คำคม หรือ ทิ้งท้ายด้วยคำถามที่น่าสนใจ การเขียนสรุปควรมีเพียงย่อหน้าเดียว

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm

ประเภทของสารคดี

  สารคดีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
                1.  สารคดีวิชาการ  เป็นเรื่องที่ให้ความรู้วิชาการแขนงต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศาสนศาสตร์ เป็นต้น
                2.  สารคดีทั่วไป  เป็นเรื่องที่ให้ความรู้และความรอบรู้ทั่วๆ ไป เช่น การท่องเที่ยว การเล่นกีฬา งานอดิเรก สงคราม อุบัติเหตุ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ การทำขนม ตัดเย็บเสื้อผ้า การออกกำลังกาย เป็นต้น
                3.  สารคดีชีวประวัติ  เป็นการเขียนเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ผู้เขียนจะต้องมีข้อมูลอย่างถูกต้อง ให้ความเป็นธรรม ปราศจากอคติลำเอียง เขียนโดยการไปสัมภาษณ์เจ้าของประวัติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่เป็นสาระมาเขียนไว้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm

แนวทางในการทำสารคดีสำหรับผู้เริ่มต้น

                1. ภาพตัวพิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ จะเดี่ยวคู่ เป็นดารา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นใครก็ได้..... คอยถามสิ่งที่คิดว่าคนทั่วไปอยากรู้   คอยเปิดประเด็นเพิ่ม   คอยสรุปและดึงเนื้อหาในเรื่องออกมาให้คนดูรู้เรื่องให้ได้ ( ไม่ให้หลุดคอนเซ็ป ) พูดง่ายๆก็คือ ทำหน้าที่แทนคนดูทางบ้านนั่นแหละ ( ตัวพิธีกรก็คือตัวแทนของกลุ่มคนดู เช่น รายการวัยรุ่นพิธีกรก็ต้องวัยรุ่นด้วย )..
                2.  ภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือผู้เล่าเรื่องราว มีหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่จะนำเสนอให้คนที่ไม่รู้ได้รู้จริง ( ให้ได้รับข้อมูลถูกต้อง ) และให้คนที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจ    ด้วยบางครั้งผู้เล่ามีความรู้มากมาย จึงเล่าสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก พิธีกรจะต้องคอยตะล่อมให้เข้าสู่เนื้อหาที่ตรงประเด็น หรือ ถ้าผู้เล่าอธิบายไม่ละเอียด
        ข้ามไปมา พิธีกรก็จะต้องคอยสรุปถามให้แน่ชัดว่า สิ่งที่เราเข้าใจคือสิ่งที่ผู้เล่ากำลังพูดถึงใช่หรือไม่...
                3. ภาพตัวพิธีกรและภาพผู้เล่าเรื่องราว ทั้ง 2 คนอยู่ในภาพเดียวกัน ( ต่างกันกับแบบ 1 ที่มีพิธีกรคนเดียว , และแบบ 2 มีตัวผู้เล่าเรื่องราวคนเดียว )
                4.  ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงคนประกอบ  เสียงที่ใช้อาจเป็นเสียงพิธีกร หรือเสียงผู้เล่าเรื่องราว ถ้าบางครั้งผู้เล่าเรื่องราวมีเวลาให้เราน้อย   เราสามารถเปลี่ยนเสียงเป็นคนบรรยายอื่นก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย  เช่น ผู้เล่าเรื่องราวเป็นชาย ช่วงอธิบายอาจเป็นเสียงผู้หญิง
                5. ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงเพลงประกอบไปกับภาพ ภาพสนุกตื่นเต้นก็ใช้เพลงตื่นเต้น เพลงประกอบ จะช่วยเสริมให้เนื้อเรื่องในสารคดีน่าสนใจมากขึ้น

                6.  นำภาพทั้งหมด ตั้งแต่ภาพแบบที่ 1-ภาพแบบที่ 5 นำมารวมกันอยู่ในเฟรมเดียวกัน เช่น ภาพตัวพิธีกรกับภาพเหตุการณ์ที่คนกำลังทำงานอยู่ในเฟรมเดียวกัน หรือ ภาพผู้เล่ากับภาพเหตุการณ์อยู่ในเฟรมเดียวกัน อาจแบ่งภาพเป็น 2 - 3 - 4  ช่องในเฟรมเดียวกัน ก็ได้

ที่มา : http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry