1. ตัดสินใจเกี่ยวกับหัวเรื่อง
เช่นการบรรยายและเรื่องแทรกต้องติดต่อกันหรือไม่ สิ่งที่เพิ่มเติมในรายการ
ส่วนประกอบที่ต้องใช้ ได้แก่ ผู้เขียนแบบบันทึกเสียง ผู้แปล การประกอบเสียง รูปแบบ
การทำข่าว
2. ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ และเรื่องแทรกอื่นๆ ข้อเท็จจริง
ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ให้สัมภาษณ์ สถานที่
3. พิจารณาผู้ช่วยเหลือ ที่จะช่วยเก็บข้อมูล หรือร่วมในรายการ
4. บันทึกเรื่องประกอบ ทำเมื่อความคิดเกี่ยวกับโครงเรื่อง
การติดต่อแน่นอนแล้ว ควรระวังเรื่องคุณภาพทางเทคนิคด้วย
5. การตัดต่อเทปครั้งแรก ควรตัดส่วนที่ไม่แน่ใจว่าไม่ใช้ออก
ตัดต่อให้มีลักษณะต่อเนื่องและอาจไม่ต้องเอาใจใส่ในเรื่องความผิดพลาดมากนัก
แต่ต้อวอลงฟังดูหลายๆครั้งจนกระทั่งรู้สึกว่าแต่ละส่วนต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม
และเกิดความคิดเกี่ยวกับคำบรรยาย
นอกจากนั้นควรเตรียมพร้อมที่จะบันทึกเพื่อเติมในส่วนที่ขาดหายไป
แล้วบันทึกส่วนย่อยที่จัดลำดับไว้เป็นที่น่าพอใจแล้วลงในเทป
และเว้นที่ว่างของส่วนหัวเทปและปลายเทปให้มาก
6. เตรียมเขียนบทที่ใช้ผลิตรายการ หลังจากตัดสินแน่ใจในส่วนประกอบต่างๆแล้ว
ก็สามารถเขียนบทบรรยายจริงได้ การบันทึกสัญญาณเตือน ช่วงเวลา
การเปลี่ยนความดังของเสียงเพลง และเสียงประกอบทั้งหลาย
ต้องถูกต้องตามกำหนดเวลาและทำเครื่องหมายให้ชัดเจน
นอกจากนั้นเริ่มรายการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรเน้นสิ่งที่น่าสนใจ พยายามชี้ให้เห็นถึงส่วนหนึ่งน่าสนใจตลอดเวลา
ซึ่งต้องระมัดระวังมากในการเขียนบท
7. การบันทึกรวม เป็นการบันทึกส่วนต่างๆทั้งหมดทีเดียว
ป้องกันตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้รายการต่อเนื่อง มีความหลากหลาย
น่าสนใจติดตามชมและฟัง เมื่อเสร็จควรตรวจสอบความกระชับของรายการและความต่อเนื่อง
ซึ่งอาจปรับปรุงด้วยการตัดต่ออีกครั้ง
ที่มา : http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage3/doc3_5.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น