วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนวทางในการทำสารคดีสำหรับผู้เริ่มต้น

                1. ภาพตัวพิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ จะเดี่ยวคู่ เป็นดารา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นใครก็ได้..... คอยถามสิ่งที่คิดว่าคนทั่วไปอยากรู้   คอยเปิดประเด็นเพิ่ม   คอยสรุปและดึงเนื้อหาในเรื่องออกมาให้คนดูรู้เรื่องให้ได้ ( ไม่ให้หลุดคอนเซ็ป ) พูดง่ายๆก็คือ ทำหน้าที่แทนคนดูทางบ้านนั่นแหละ ( ตัวพิธีกรก็คือตัวแทนของกลุ่มคนดู เช่น รายการวัยรุ่นพิธีกรก็ต้องวัยรุ่นด้วย )..
                2.  ภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือผู้เล่าเรื่องราว มีหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่จะนำเสนอให้คนที่ไม่รู้ได้รู้จริง ( ให้ได้รับข้อมูลถูกต้อง ) และให้คนที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจ    ด้วยบางครั้งผู้เล่ามีความรู้มากมาย จึงเล่าสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก พิธีกรจะต้องคอยตะล่อมให้เข้าสู่เนื้อหาที่ตรงประเด็น หรือ ถ้าผู้เล่าอธิบายไม่ละเอียด
        ข้ามไปมา พิธีกรก็จะต้องคอยสรุปถามให้แน่ชัดว่า สิ่งที่เราเข้าใจคือสิ่งที่ผู้เล่ากำลังพูดถึงใช่หรือไม่...
                3. ภาพตัวพิธีกรและภาพผู้เล่าเรื่องราว ทั้ง 2 คนอยู่ในภาพเดียวกัน ( ต่างกันกับแบบ 1 ที่มีพิธีกรคนเดียว , และแบบ 2 มีตัวผู้เล่าเรื่องราวคนเดียว )
                4.  ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงคนประกอบ  เสียงที่ใช้อาจเป็นเสียงพิธีกร หรือเสียงผู้เล่าเรื่องราว ถ้าบางครั้งผู้เล่าเรื่องราวมีเวลาให้เราน้อย   เราสามารถเปลี่ยนเสียงเป็นคนบรรยายอื่นก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย  เช่น ผู้เล่าเรื่องราวเป็นชาย ช่วงอธิบายอาจเป็นเสียงผู้หญิง
                5. ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงเพลงประกอบไปกับภาพ ภาพสนุกตื่นเต้นก็ใช้เพลงตื่นเต้น เพลงประกอบ จะช่วยเสริมให้เนื้อเรื่องในสารคดีน่าสนใจมากขึ้น

                6.  นำภาพทั้งหมด ตั้งแต่ภาพแบบที่ 1-ภาพแบบที่ 5 นำมารวมกันอยู่ในเฟรมเดียวกัน เช่น ภาพตัวพิธีกรกับภาพเหตุการณ์ที่คนกำลังทำงานอยู่ในเฟรมเดียวกัน หรือ ภาพผู้เล่ากับภาพเหตุการณ์อยู่ในเฟรมเดียวกัน อาจแบ่งภาพเป็น 2 - 3 - 4  ช่องในเฟรมเดียวกัน ก็ได้

ที่มา : http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น